Routing Protocol

Routing Protocol



วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่อง routing Protocol กันครับ

ขั้นตอนแรกต้องเข้าใจ กระบวนการของ PC เวลามอง ip destination กันก่อน

กระบวนการหา Network Address หรือ Subnet Address

สมมุติว่า เมื่อ PC1 ip 192.168.1.10/24 ต้องการติดต่อ PC2 ip 192.168.1.20/24

PC1 จะทำการ หาข้อมูล network address ของ PC2  โดยเอา destination ip address (PC2) กับ subnet mask (PC1) มาแปลงเป็น เลข ฐาน 2 แล้วนำมา AND กัน

กระบวนการ AND
0 AND 0 = 0
0 AND 1 = 0
1 AND 0 = 0
1 AND 1 = 1


IP Destination
192.           168.           1.               20
1100 0000.1010 1000.0000 0001.0001 0100 <-- 192.168.1.20
1111  1111.1111  1111.1111 1111.0000 0000 <-- 255.255.255.0
1100 0000.1010 1000.0000 0001.0000 0000 <-- AND operation = 192.168.1.0



สรุปคือ ต้องเป็น 1ทั้งหมด ถึงจะได้ผลลัพท์เป็น 1
ข้อสังเกตุ subnet mask ส่วนที่เป็น 255 เป็น ip ค่าเดิมทั้งหมด เช่น 192.168.1.x 255.255.255.0  ดังนั้น 3 หลักแรกก็ยังคงเป็น 192.168.1.

ส่วน Network address ของ PC 1 คือ PC1 ip address AND กับ  subnet mask เหมือนวิธีข้างต้น

เมื่อได้ network address มาแล้ว เอามา เปรียบเทียบดังนี้

    - ถ้า 2 ตัวเป็นเลขเดียวกันหมายความว่า ทั้ง 2 network เป็นวงเดียวกัน แปลว่า เป็น local network เช่นวง LAN เดียวกัน PC ทำกระบวนการ หา MAC address ของ IP address ปลายทาง เท่านั้น

    - ถ้า 2 ตัวเป็นเลขต่างกันหมายความว่า ทั้ง 2 network เป็นคนละวงกัน  PC จะทำการส่งข้อมูล ไปยัง  ip default Gateway ปลายทาง ซึ่งอยู่ในชั้น layer 3(Network layer โดยทั่วไปเป็น ip ของ router) ที่ทำการ configure ไว้ใน LAN card PC เราจะใช้ routing protocol เข้ามาช่วย ติดต่อสื่อสาร

ตัวอย่าง ip default gateway

C:\Users\PC1>ip config

Ethernet adapter Local Area Connection:


   IPv4 Address. . . . . . . . . . . : 192.168.1.10
   Subnet Mask . . . . . . . . . . . : 255.255.255.0
   Default Gateway . . . . . . . . . : 192.168.1.254 <----

C:\Users\PC1>


Routing protocol คือ  protocol ที่รวบรวมเส้นทางของ network address วงต่างๆ (routing infomation)ที่ ต้องการติดต่อข้าม network ว่าต้องออกไปที่ขา interface ไหน ของ router นั้นๆ โดยจะแลกเปลี่ยนข้อมูลของอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ network layer (Layer 3) โดยทั่วไปที่เรารู้จักก็คือ Router และ switch layer 3 เพื่อทำการส่งข้อมูล ip packet ให้ไปถึงปลายทางได้  ซึ่งจะเก็บอยู่ใน routing table

1. รูปแบบของ routing protocol  ตามการ configure

    1.1 Static route : ไม่ว่าจะเป็น static route ทั่วไป หรือ default route โดย  เราสามารถ กำหนดเส้นทางเองทั้งหมด เหมาะสำหรับ network เล็ก หรือ router ที่ต้องการชี้ Gateway ออก ISP เพื่อ ออก internet เพียงอย่างเดียว

    1.2 Dynamic routing protocol กำหนดข้อมูลเพียงบางส่วนที่จำเป็น แล้วให้ อุปกรณ์ทำการ คำนวณเส้นทางเอง ตามข้แกำหนดของ routing protocol นั้นๆ โดยที่เราไม่ต้องไปเสียเวลา ทำ static route ทั้งหมด เพราะถ้ามี network device เยอะ เราคงมานั่ง static route ทั้งหมด ไม่ไหว เพื่อกำหนดเส้นทางการวิ่งของ ip packet นั้นๆ เอง  โดย routing protocol แต่ละ ชนิดก็จะมี รูปแบบ และวิธีการค้นหา เส้นทาง เพื่อให้ ip packet ไปถึงปลายทางได้ แตกต่างกัน แต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานเลือก มาใช้ให้เหมาะสมกับระบบของเรามากที่สุด



2.รูปแบบของ routing protocol  ตามลักษณะการใช้งาน

มีอยู่ 2 ประเภท

    2.1 IGP (Interior Gateway Protocol) เป็น ประเภทของ routing Protocol ที่มีลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ routing table ที่อยู่ภายใต้ (Autonomous System) AS เดียวกัน Autonomous System หมายถึง ระบบเครือข่ายที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล อยู่ ในภายใต้การบริหารของ ผู้ดูแลระบบ หรือมี policy เดียวกัน เช่น ระบบ network ของ องค์กร หรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ถือว่าอยู่ภายใต้ผู้ดูแล กลุ่มเดียวกัน หรือ หลายๆ บริษัทที่มี policyเดียวกัน เช่น บริษัทใดบริษัทหนึ่งมี customer provider partner dealer ที่ต้องการใช้เครือข่ายร่วมกัน เพื่อ share ข้อมูลร่วมกันในการบริงานต่างๆ routing protocol ประเภท IGP เช่น RIP, IGRP (ยกเลิกการใช้ไปแล้ว), EIGRP, OSPF, IS-IS.

    2.2 EGP (Exterior Gateway Protocol) เป็น ประเภทของ routing Protocol ที่มีลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ routing table ที่อยู่ ต่าง AS กัน เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กร โดยทั่วไปผู้ใช้ routing protocol ลักษณะนี้คือ Internet Service Provider (ISP), Internet Exchange (IX) เพราะ ใน Internet เป็น การรวมกันของ networkย่อยๆ ของหลายๆองค์กร จนครอบคลุมทั่วโลก โดย จะใช้ routing protocol ที่เรียกว่า BGP (Border Gateway Protocol)

3. รูปแบบของ routing protocol  ตามประเภทการทำงาน

    3.1. Distance Vector Routing Protocol เป็น Protocol ที่ ใช้ ระยะทาง hop count ในการคำนวณเส้นทาง เช่น RIP ,IGRP
    3.2. Link State Routing Protocol ใช้ algorithm ในการวาด topology ขึ้นมา แล้วนำมาควณเส้นทางที่ดีที่สุด เช่น OSPF, IS-IS
    3.3. Hybrid Routing Protocol เป็นการนำข้อดีของ Distance Vector Routing Protocol และ Link State Routing Protocol มา เช่น EIGRP
รูปภาพธีมโดย sandsun. ขับเคลื่อนโดย Blogger.