โลกจริงของอินเตอร์เนต

โลกจริงของอินเตอร์เนต

               หลายคนเคยสงสัยว่าในชีวิตจริงของอินเตอร์เนต เป็นยังไง หลังจากที่เราได้ ip ที่เป็น public ip แล้ว ต่อไปมันทำงานกันยังไง มันหาเส้นทาง routing ด้วยวิธีใหน วันนี้ผมจะมาสรุปคร่าวๆแบบไม่เจาะลึกมากแต่ให้เห็นภาพรวมก่อน ในอินเตอร์เนต จะแบ่ง network ออกเป็น 3 ระดับ ที่เรียกกันว่า Internet Tier hierarchy

1. Tier 1 network จะเป็น network ที่เป็นศูนย์กลางของอินเตอร์เนตเพราะมี network ระดับใหญ่มาก จะไม่เสียค่า ip transit ไปยัง networkอื่นๆ จะมีการ peering กับ tier 1 ด้วยกันปัจจุบันก็มีอยู่ไม่กี่เจ้าที่เป็น tier 1 ส่วนมากจะมี HQ อยู่ที่ US ยกเว้น Global Crossing
ที่อยู่ที่ Hamilton, Bermuda และ ที่อยู่ที่ ญี่ปุ่น ส่วนมากเวลาเราจะ acess internet ไปยังต่างประเทศ คนละทวีปจะต้องผ่าน networkพวกนี้ AOL Transit Data Network (ATDN) AS number 1668 AT&T AS number 7018 Global Crossing (GBLX) AS number 3549 Level 3 AS number 3356 Verizon Business (formerly UUNET) AS number 701 NTT Communications (formerly Verio) AS number 2914 Qwest AS number 209 SAVVIS AS number 3561 Sprint AS number 1239

2. Tier 2 network จะเป็น reseller ของ tier 1 network โดยต้องเสียค่าเชื่อมต่อ ip transit ใน internet ให้กับ tier 1 และ มีการ peering กับ network อื่นๆ PCCW Global (formerly Beyond the Network Access (BTN)) AS3491 (Buys transit from Global Crossing AS3549) Cogent Communications AS174 (buys transit from Verio, AS2914) Entanet/AS8468 (Teleglobe/TeliaSonera) France T?l?com AS5511 (buys transit from Sprint, AS1239) Tiscali International AS3257 (buys transit from Sprint, AS1239) Tele2 (formerly SWIPNet) AS1257 (buys transit from Sprint, AS1239) Telecom Italia Sparkle (Seabone) AS6762 (buys transit from Sprint, AS1239) nLayer AS4436 (buys from GBLX/AS3549) Interoute AS8928 (buys tansit from Sprint/AS1239 and Tiscali/AS3257) Limelight Networks ส่วนในเมืองไทยก็จะมี CAT TIG ADC TT&T Cs-LOX TOT ที่ทำหน้าที่เป็น internet exchange: IX คือจะมีการ peer กับ upstremเจ้าอื่นๆ

3. Tier 3 network จะเป็นในส่วน ของ internet access คือส่วนที่ลูกค้าเชื่อมต่ออินเตอร์เนตเข้ามา เช่น พวก local isp ต่างๆ เช่น anet inet trueinternet ji-net


การเชื่อมต่อในอินเตอร์เนตนั้นจะใช้ protocol BGP Border gateway protocol ในการ routing เป็นหลัก ซึ่ง จะใช้ AS number เป็นตัวแยก network แต่ละเจ้า ซึ่ง ASnumber จะเป็น ตัวบอกว่า networkนั้นๆ มี ip prefix อะไรบ้าง ที่ประกาศให้โลกอินเตอร์เนตรับรู้ เราสามารถจะดู as number detail ได้ในหลายๆ เวบเช่น http://www.cidr-report.org/cgi-bin/as-report?as=AS174

คำที่น่าสนใจ

Peering : คือการเชื่อมต่อ network กับ networkอื่นโดยแต่ละnetwork จะออกค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อเองเพื่อเอื้อประโยชน์จากการเชื่อมต่อทั้งสองฝ่าย เช่น การเชื่อมต่อ ระหว่าง internet exhange กับ webserver google.com, yahoo.com ทาง internet exhange จะได้ประโยชน์ทำให้ลูกค้าสามารถ access web google yahoo ได้ไวขึ้น ไม่ต้องวิ่งผ่านหลายhop เป็นการลด latency ส่วนทาง webserver ก็ได้ประโยชน์ทำให้ลูกค้าใช้งานได้สะดวกและอยากเข้ามาใช้งานมากขึ้น โดยการ peering จะไม่ทำตัวเป็น iptransit คือส่งผ่านip packet ไปยัง networkอื่นใช้ได้เฉพาะ ลูกค้าที่จะใช้งาน serverนั้นๆ เท่านั้น

IP Transit : networkที่เป็น ip transit จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อใน internet ซึ่งจะเป็นบางส่วน โดยผู้ที่ทำตัวเป็น iptransit จะรับ full route เข้ามา ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า 200,000 กว่า route ที่ได้รับมาจาก upstreem ที่เราเชื่อมต่อเราสามารถเชื่อมต่อ upstreem หลายๆ เจ้าได้เพื่อการใช้งานที่รวดเร็วและครอบคลุมแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อด้วย Upstreem : คือ internet provider ที่เราขอทำการเชื่อมต่อด้วยเพื่อเพิ่มช่องทางในการ access internet downstreem : คือ Internet provider หรือ ลูกค้า ที่เราให้บริการ ip transit เพื่อให้ลูกค้า access internet ผ่านทางเราได้

AS number : คือ Autonomous system number คือกลุ่มของ ip network กลุ่มหนึ่งที่อยู่ภายใต้ policy และ ผู้ดูแลชุดเดียวกันโดยทั่วไปก็คือ องค์กรหนึ่ง ซึ่งถ้าเราต้องการจด as number จดได้กับ http://www.apnic.net/index.html

*** หมายเหตุ เป็นบทความเก่า จากเวบ version เดิม ตั้งแต่ 2008  เนื้อหาอาจจะเก่าไปบ้าง ***

รูปภาพธีมโดย sandsun. ขับเคลื่อนโดย Blogger.